29.6.52

DTS 29-06-52

สรุปเนื้อหาบทเรียน "Array and Record"

อาร์เรย์__Array__^^"
....แถวหรือลำดับของข้อมูลชนิดเดียวกันที่มีจำนวนหลายตัวนำมาเก็บในตัวแปรชื่อเดียวกัน แต่ต่างกันที่ตัวบอกลำดับ ซึ่งเรียกว่าตัวห้อยหรือตัว Subscript ของตัวแปรนั้น



ประเภทของอาร์เรย์
....ตามชนิดของข้อมูล ได้ 2 ประเภท คือ อาร์เรย์ของตัวแปรที่เก็บข้อมูลจำนวนและอาร์เรย์ของตัวแปร Pointer


ถ้าแบ่งอาร์เรย์ตามลักษณะที่ตั้งของข้อมูล คือ ข้อมูลอยู่ในตำแหน่งที่เท่าใดของกลุ่มสมาชิกนั้น ๆ นั่นคือข้อมูลตัวนั้นอยู่ในแถวใด คอลัมน์ที่เท่าใด หรือถ้ามีหลายระนาบ (Plate) ก็คืออยู่ในระนาบใด เป็นต้น


ลักษณะดังกล่าวนี้เราเรียกว่า มิติ (Dimension) ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อาร์เรย์มิติเดียว (One Dimension) อาร์เรย์หลายมิติ (Multi Dimensions) คือตั้งแต่ 2 มิติขึ้นไป ความหมายของมิติเปรียบได้กับมิติของวัตถุชิ้นงานหรือแผ่นระนาบ (Plate) ดังนี้



อาร์เรย์มิติเดียว (one dimension)

อาร์เรย์มิติเดียว คือ ตัวแปรอาร์เรย์ที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นกลุ่ม ที่มีลักษณะตำแหน่งที่ตั้งที่เป็นลักษณะแถวเดียว (วางตามนอน) หรือคอลัมน์เดียว (วางตามตั้ง) เช่น x[7], number[100], time[3] เป็นต้น



อาร์เรย์หลายมิติ
( Multi Dimension Array )
อาร์เรย์หลายมิติ คือ อาร์เรย์ตั้งแต่ 2 มิติเป็นต้นไป หมายถึงตัวแปรอาร์เรย์ที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นกลุ่ม ที่ข้อมูลนั้นใช้ตัวแปรชื่อเดียวกันแต่มีข้อแตกต่างกันที่ตัวห้อย หรือ subscript ที่บอกลำดับความแตกต่างของตัวแปรนั้นว่าอยู่ในแถวใด ในคอลัมน์ที่เท่าไร ลำดับใดในแถว ที่กล่าวมานี้ คือ อาร์เรย์ 2 มิติ และถ้ากลุ่มข้อมูลดังกล่าวยังมีหลายชุดในที่นี้จะใช้คำว่า มีหลายระนาบ (Plate) ก็จะมีตัวห้อยเพิ่มมาอีกเพื่อระบุว่าเป็นของระนาบใด ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นอาร์เรย์ 3 มิติ อาร์เรย์หลายมิติ คืออาร์เรย์ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยใช้ [ ] หลายคู่ และเวลาติดต่อกับข้อมูลใด ในอาร์เรย์ ก็สามารถทำได้โดยใช้ตัวห้อย (Subscript) หลายตัว






__Structure__^^"
คือ การกำหนดขั้นตอนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ได้แก่

การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence)
คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับ

การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision)
คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น

การทำซ้ำ(Repeation or Loop)
คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเองเป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ









การบ้าน__Structure__

#include

#include

main()

{

struct apartment{

int date;

int number_room;

char phone_number[20];

char name[20];

char last_name[20];

float price;

float price_water;

float price_light;

}apartment1;


printf ("date=");

scanf ("%d",&apartment1.date);

printf ("number_room=");

scanf ("%d",&apartment1.number_room);

printf ("phone_number=");

scanf ("%s",&apartment1.phone_number);

printf ("name=");

scanf ("%s",&apartment1.name);

printf ("last_name=");

scanf ("%s",&apartment1.last_name);

printf ("price=");

scanf ("%f",&apartment1.price);

printf ("price_water=");

scanf ("%f",&apartment1.price_water);

printf ("price_light=");

scanf ("%f",&apartment1.price_light);

printf ("Date=%d\n",apartment1.date);

printf ("number_room=%d\n",apartment1.number_room);

printf ("phone_number=%s\n",apartment1.phone_number);

printf ("name=%s\n",apartment1.name);

printf ("last_name=%s\n",apartment1.last_name);

printf ("price=%f\n",apartment1.price);

printf ("price_water=%f\n",apartment1.price_water);

printf ("price_light=%f\n",apartment1.price_light);

}














ประวัติ


นางสาว หนึ่งฤทัย จำนงค์

Miss Nungruthai Jamnong

รหัสนักศึกษา 50152792003

หลักสูตร : การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต



e-mail : u50152792003@gmail.com